แรงงานนอกระบบ กลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบทางเศรฐกิจที่รุนแรงและมีความเสี่ยงสูงมากในการกลับมาฟื้นตัว

ข้าวยากหมากแพง ชีวิตที่แขวนอยู่บนเส้นด้าย กับความไม่มั่นคงของแรงงานนอกระบบ
ข้าวยากหมากแพง ชีวิตที่แขวนอยู่บนเส้นด้าย กับความไม่มั่นคงของแรงงานนอกระบบ
  •  กลางปี 2564 คนทำงานนอกระบบ หรือคนทำงานที่ไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงานส่วนใหญ่ มีรายได้เฉลี่ยน้อยกว่าร้อยละ 40 ของรายได้ก่อนเกิดการแพร่ระบาด
  • ช่วงการแพร่ระบาดพวกเขาต้องนำเงินออมที่มีออกมาใช้ กู้หนี้ยืมสิน อดมื้อกินมื้อ พยายามปรับตัว หาทางรอด ด้วยการทำงานเดิม หรือทำงานอื่นเพิ่มเติม 
  • แม้ยังไม่มีการยืนยันที่แน่นอนว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยขณะนี้ เข้าสู่สภาวะ Stagflation แล้วหรือยัง หรือจะเข้าสู่สภาวะ Stagflation เมื่อใด แต่ปัญหาสำคัญเร่งด่วนอย่างยิ่งในช่วงเวลานี้ คือ ปัญหาเรื่องปากท้อง ปัญหาภาระค่าครองชีพ ซึ่งปรากฏชัดเจนจากตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค หรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิถุนายน 2565 ของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ ที่ระบุว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 7.66% และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นอีก อัตราเงินเงินเฟ้อ7.66% นับเป็นอัตราที่สูงสุดในรอบปี และสูงสุดในรอบ 13
  • จากเดิมเมื่อปีที่แล้วหากนำเงิน 1,000 บาท ไปซื้อของจำเป็นได้ของมาครบตามที่ต้องการ แต่วันนี้ ต้องจ่ายเงินมากขึ้น เป็น 1,077 บาท เพื่อให้ได้ของจำเป็นเท่าเดิม หรือพูดให้ง่ายกว่านั้น คือ ค่าของเงิน 100 บาท ตอนนี้หายไปประมาณ 8 บาท และนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เราต่างรู้สึกได้ว่าสินค้าและบริการในเวลานี้มีราคาสูงมากขึ้น 
  • ด้วยอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น และเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นเร็วกว่าปกติ หรือที่เรียกในทางเทคนิคว่า “Stagflation” อันเป็นส่วนผสมระหว่างสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เติบโตน้อย (stagnation) และระดับราคาสินค่าเพิ่มสูงขึ้น หรือเงินเฟ้อ (Inflation)
  • ภาวะเศรษฐกิจที่เงินเฟ้อสูงเช่นนี้อาจมีผลกระทบต่อแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานนอกระบบ ใน 3 ลักษณะ
    • ฐานะผู้บริโภค
      • ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน สำหรับตนเอง และผู้อยู่ในอุปการะ
      • แม้ว่าทุกคนจะเผชิญปัญหาจากอัตราเงินเฟ้อเท่ากันที่ 7.66% แต่ภาระค่าใช้จ่ายของผู้มีรายได้น้อยมีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านค่าอาหารที่สูงกว่า (ศูนย์วิจัยกรุงศรี, 2565) นอกจากนี้ แรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ยังคงมีรายได้ไม่มั่นคง รูปแบบการจ้างงานที่ไม่แน่นอน โดยมีรายได้เป็นรายวัน รายครั้ง รายรอบ รายชั่วโมง หรือรายชิ้น รวมทั้งยังอยู่ระหว่างการฟื้นตัวหลังการระบาดของโรคโควิด-19
    • ฐานผู้ประกอบการที่ต้องลงทุนซื้อวัตถุดิบ ปัจจัยการผลิต
      • ต้นทุนการประกอบอาชีพที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ทำให้คนทำงานบางส่วนปรับราคาขายสินค้าตามต้นทุน ในขณะที่คนทำงานส่วนใหญ่ยังไม่ปรับราคาสินค้า หรือปรับราคาสินค้าและค่าบริการไม่ได้ด้วยเงื่อนไขด้านกฎหมาย และข้อกำหนดบางประการ
    • แนวโน้มการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ
      • จำเป็นต้องใช้นโยบายการคลัง ด้วยการจัดเก็บภาษี ลดค่าใช้จ่ายของรัฐที่ไม่จำเป็น รวมถึงการใช้นโยบายการเงินด้วยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย (เงินฝาก และเงินกู้) เพื่อสกัดเงินเฟ้อ แต่การดำเนินนโยบายดังกล่าวอาจ สร้างอุปสรรคสำคัญกับภาระหนี้สินของคนทำงานที่กำลังผ่อนชำระอยู่ และส่งผลให้การฟื้นฟูชีวิตและงานของคนทำงานที่มีรายได้น้อยทำได้ยากลำบากขึ้น รวมถึงความเสี่ยงดังกล่าวอาจนำไปสู่ภาวะที่ผู้บริโภคทั่วไปจำเป็นต้องรัดเข็มขัดในการใช้จ่าย เมื่อผู้ประกอบการมีต้นทุนที่สูงขึ้น ขายสินค้าได้น้อยลง กำไรที่ได้ก็ลดลง จนอาจทำให้ต้องปลดคนงาน ซึ่งจะส่งผลอย่างมากต่อครอบครัวของคนทำงาน และยิ่งส่งผลมากขึ้นเมื่อครอบครัวนั้นเป็นครอบครัวของแรงงานนอกระบบที่มีความเสี่ยงเรื่องความมั่นคงทางรายได้อยู่แล้ว
  • การมีอัตราเงินเฟ้อที่สูงจะยืดเวลาของการฟื้นตัวของคนทำงานต่อไปจากเดิม 5 – 6 ปี หรืออาจนาน 8 – 10 ปี การฟื้นฟูชีวิตและสังคมของคนทำงานนอกระบบให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงเป็นความท้าทายของทุกๆ คน และทุกๆ ฝ่าย โดยเฉพาะภาครัฐจะต้องมีบทบาทสำคัญในการเข้ามาหนุนช่วยในทุกๆ ด้านโดยเฉพาะเรื่องของการสร้างงานและสวัสดิการทางสังคม ในด้านการสร้างงานรัฐต้องสนับสนุนให้ทุกคนมีงานทำ มีรายได้เลี้ยงครอบครัวอย่างมีศักดิ์ศรี โดยการลดเงื่อนไขกฎเกณฑ์ที่ยุ่งยากกับการทำมาหากิน เพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยการสนับสนุนแหล่งทุนปลอดดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยต่ำ สนับสนุนให้คนทำงานสามารถเข้าถึงการพัฒนาทักษะ ตลาด และเทคโนโลยีที่จำเป็น นอกจากนี้ รัฐจำเป็นต้องตรึงราคาพลังงาน ลดภาระค่าครองชีพ สร้างความมั่นคงทางอาหาร ดูแลสุขภาพ และที่อยู่อาศัยที่จำเป็นต่อคุณภาพชีวิตคนทำงาน รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้คนทำงานได้มีโอกาสรวมกลุ่ม เพื่อสะท้อนปัญหา และความต้องการที่เหมาะสมสำหรับคนทำงานแต่ละกลุ่ม

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thaipost.net/articles-news/180426/