พี่น้องแรงงานมุ่งหน้าสู่ทำเนียบ ยื่นข้อเรียกร้อง 14 ข้อ ต่อนายกฯ ในวันกรรมกรสากล 2565

วันที 1 พฤษภาคมของทุกปี คือ วันแรงงานแห่งชาติ ซึ่งในปี พ.ศ. 2565 นี้ แม้จะตรงกับวันหยุดสุดสัปดาห์อย่างวันอาทิตย์ แต่เครือข่ายเพื่อพี่น้องแรงงานทั้งหลายไม่หยุดที่จะต่อสู้พี่น้องแรงงานและพร้อมจะเดินหน้าสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิแรงงานที่เป็นธรรม

เนื่องในวันกรรมกรสากล เครือข่ายพี่น้องแรงงานไทยทั้งหลาย ได้รวมตัวกันเดินขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มุ่งหน้าสู่ ประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นข้อเรียกร้อง 14 ข้อ แก่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยมี นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นตัวแทนเข้ารับหนังสือ

ข้อเสนอวันกรรมกรสากล ประจำปี 2565

  1. รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรม ให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน โดยปรับค่าจ้างขึ้นต่ำ 492 บาทให้เท่ากันทั้งประเทศไทย กำหนดนิยามค่าจ้างขั้นค่ำแรกเข้าให้มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพตนและครอบครัว 2 คน ตามหลัก ILO และกำหนดให้มีโครงสร้างค่าจ้างและมีการปรับค่าจ้างทุกปี
  2. รัฐต้องควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะราคาน้ำมัน เพื่อเพิ่มรายได้ เพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน
  3. หยุดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในทุกรูปแบบ ยกเลิกนโยบายการแปรรูป และการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการยกเลิกการออก ร่าง พ.ร.บ. การขนส่งทางราง พ.ศ. …. ยกเลิกการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership หรือ PPP) ให้มีการตรวจสอบและหยุดแปรรูปการบริหารจัดการน้ำให้เอกชน จัดตั้งกองทุนพัฒนารัฐวิสาหกิจ และให้มีการบริหารจัดการที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ และการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ
  4. รัฐต้องปรับปรุงโครงสร้างทางภาษี
  1. รัฐต้องปฏิรูปการประกันสังคม โดยให้มีการตั้งโรงพยาบาลประกันสังคมให้กับผู้ประกันตน ตามสัดส่วนผู้ประกันตนแต่ละพื้นที่ พร้อมกับผลิตแพทย์ พยาบาลและบุคลากร สนับสนุน ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสถาบันการเงินของผู้ใช้แรงงาน (ธนาคารแรงงาน) ปฏิรูปโครงสร้างสำนักงานประกันสังคมให้เป็นอิสระ โปร่งใส ตรวจสอบได้และให้ผู้ประกันตนมีส่วนร่วม การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมต้องเป็นไปในสัดสวนที่เท่ากันทั้ง รัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตน รวมถึงให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบพร้อมดอกเบี้ยส่วนที่ค้างให้ครบ ดำเนินการบริหารจัดการ ให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 และ มาตรา 33 ได้รับสิทธิประโยชน์ที่เท่าเทียมกันเพิ่มสิทธิประโยชน์สำหรับผู้รับเงินชราภาพเป็นอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเดือนสุดท้าย ขยายกรอบเวลาในการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลของกองทุนเงินทดแทนจนสิ้นสุดการรักษาตามคำวินิจฉัยของแพทย์
  2. รัฐต้องจัดสวัสดิการถ้วนหน้าที่มีคุณภาพให้แก่ประชาชนทุกคนได้เข้าถึง อย่างเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฏิบัติ
  3. รัฐบาลต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที 87,98,183,190
  4. รัฐบาลต้องยกเลิกนโยบายการจำกัดอัตรากำลังบุคลากรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและยกเลิกนโยบายการลดสิทธิประโยชน์ สวัสดิการของพนักงานและครอบครัว
  5. รัฐต้องกำหนดให้ลูกจ้างภาครัฐในหน่วยงานราชการต่าง ๆ ทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นรับค่าจ้างจากงบประมาณแผ่นดิน และต้องบรรจุเป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างประจำ
  6. รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด กรณีที่นายจ้างเลิกจ้างคนงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชย หรือจ่ายไม่ครบที่กฎหมาย
  1. รัฐต้องจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงจากการลงทุน โดยให้นายจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนเพื่อเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิของคนงาน เมื่อมีการเลิกจ้างหรือปิดกิจการ โดยนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย คนงานต้องได้สิทธิรับเงินจากกองทุนนี้ พร้อมทั้งการสนับสนุนค่าดำเนินการทางคดีระหว่างผู้ประกอบการกับคนงาน หรือ รัฐกับผู้ประกอบการที่ทำผิดกฎหมาย
  1. รัฐต้องพัฒนากลไกเข้าถึงสิทธิ์และการบังคับใช้กฎหมายความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน อย่างจริงจังและสร้างกลไก กติกาภายใต้การมีส่วนร่วมของคนงานทุกภาคส่วน และ ยกเลิกการใช้แร่ใยหินทุกรูปแบบ
  1. รัฐต้องยกเลิกการจ้างงานที่ไม่มั่นคง เช่น การจ้างงานแบบชั่วคราว รายวัน รายชั่วโมง เหมาค่าแรง เหมางาน เหมาบริการ และการจ้างงานบางช่วงเวลา ทั้งภาครัฐและเอกชน
  2. ข้อเสนอเพื่อคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ ขอให้รัฐบาลลดค่าใช้จ่ายในการทำเอกสารเหมือนที่เคยปฏิบัติมารัฐบาลต้องกำหนดมาตรการอย่างเข้มข้นต่อบุคคล นิดิบุคลและเจ้าหน้าที่รัฐ นายหน้า ไม่ให้หาประโยชน์จากแรงงานข้ามชาติ หากตรวจสอบพบต้องลงโทษอย่างรุนแรงเพราะเป็นการกระทำในลักษณะค้ามนุษย์รัฐต้องให้แรงงานข้ามชาติที่เป็นผู้ประกันตนเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือเยียวยา รัฐบาลไทยต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติกรณีเงินเยียวยาแรงงาน กล่าวคือ รัฐบาลต้องกำหนดมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเท่าเทียมโดยปราศจากทัศนคดิของการเลือกปฏิบัติที่มีต่อแรงงานข้ามชาติ จะต้องไม่ระบุคุณสมบัติเรื่องสัญชาติ และต้องได้รับการเยียวยาในฐานะลูกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานไม่ว่าจะอยู่ในระบบประกันสังคมหรือไม่ก็ตาม