หน้าแรก – มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ (มพอ.)

การเดินทางจากผู้ผลิต สู่นายกสมาคมฯ และ กรรมการHNSEA
การเดินทางจากผู้ผลิต สู่นายกสมาคมฯ และ กรรมการHNSEA

เมื่อก่อนที่รับจากโรงงานผืนละ 25 บาท แต่ว่าเราต้องไปซื้อทุ่นเอง ซึ่งทำจากไม้ลำปอแล้วก็เอามาย้อมสี ได้ 25 บาทก็จริงแต่ว่าต้องทำหลายอย่าง จนถึงมาใช้ทุนยางแทนเพราะไม้ลำปอหายาก เขาเอายางมาให้ เราก็ต้องมาหั่นเอง ราคาก็ลดลงมาเหลือผืนละ23บาท เราก็ไม่กล้าต่อรองกับเขาเพราะกลัวเขาไม่ให้งาน แล้วกลุ่มจะไม่มีงานทำ หลายปีต่อมาเขาก็เอาของมาให้เรา หั่นทุนยางมาให้ด้วยไม่ต้องทำเอง แต่ก็ราคาก็ลดลงมาเหลือผืน 20 บาท เขาบอกว่าเขาอำนวยความสะดวกให้เรา แต่เราก็ต้องเสียเงิน100-200บาทเป็นค่าเหมารถเอาของขึ้นไปส่งให้เขาถึงในเมือง แล้วเขาก็เอาไปตั้งขายราคาผืนเป็นร้อย

สัมภาษณ์นายจ้างเรื่องความสำคัญของลูกจ้างทำงานบ้านและประกันสังคมมาตรา33
สัมภาษณ์นายจ้างเรื่องความสำคัญของลูกจ้างทำงานบ้านและประกันสังคมมาตรา33

ขอเชิญทุกท่านรับฟังบทสัมภาษณ์นายจ้างของลูกจ้างทำงานบ้าน ผู้ที่ได้รับผลกระทบหากลูกจ้างทำงานบ้านได้เข้าประกันสังคมมาตรา 33 ว่านายจ้างคิดเห็นอย่างไร โดยมี 2 ท่านที่ร่วมให้สัมภาษณ์ คือ ดร.วุฒิ ชินชนะโชคชัย และคุณนาลินี ศรีกสิกุล ซึ่งมีสถานะเป็นนายจ้างและครอบครัวของนายจ้างที่มีลูกจ้าทำงานบ้าน เห็นด้วยไหมในการที่ให้ลูกจ้างทำงานบ้านเข้าเป็นผู้ประกันสังคมมาตรา33

ร่วมลงชื่อสนับสนุนให้ “ลูกจ้างทำงานบ้าน” เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33
ร่วมลงชื่อสนับสนุนให้ “ลูกจ้างทำงานบ้าน” เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33

เชิญทุกๆท่านรับฟังสัมภาษณ์ความคิดเห็นของลูกจ้างทำงานบ้าน, องค์กรนายจ้างแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ที่ได้บอกเล่าถึงความสำคัญและเหตุใดลูกจ้างทำงานบ้านถึงสมควรได้รับสิทธิในการเข้าเป็นผู้ประกันตน มาตรา33

สมาพันธ์แรงงานนอกระบบร่วมยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลในวัน”สตรีสากล”
สมาพันธ์แรงงานนอกระบบร่วมยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลในวัน”สตรีสากล”

วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีเป็น “วันสตรีสากล” แรงงานหลากหลายอาชีพรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องสิทธิที่ควรจะได้รับของแรงงานหญิง มีการจัดกิจกรรมมากมาย และหลากหลายทั่วทุกมุมโลก อย่างไรก็ตามกว่าที่สิทธิสตรีจะได้รับการยอมรับสตรีเองก็ต้องต่อสู่อย่างหนักกว่าจะได้รับสิทธิ และเสรีภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยในปัจจุบันปัญหาของแรงงานนอกระบบยังไม่ถูกแก้ไขและถูกมองข้ามจากภาครัฐ ทั้งที่มีแรงงานหญิงที่เป็นแรงงานนอกระบบมากถึง 22 ล้านคนที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง เช่น หาบเร่-แผงลอย, ผู้รับงานไปทำที่บ้าน, ผู้ทำการผลิตที่บ้าน, ลูกจ้างทำงานบ้าน, มอเตอร์ไซค์รับจ้าง, หมอนวด, คนเก็บของเก่า และอาชีพอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้น ทางสมาพันธ์แรงงานนอกระบบ(ประเทศไทย) จึงได้ร่วมกับ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) จัดกิจกรรมยื่นหนังสือข้อเสนอต่อรัฐบาลไทย

สมาพันธ์แรงงานนอกระบบ ประเทศไทย ยื่นหนังสือข้อเรียกร้องของแรงงานนอกระบบต่อ ประธานคณะกรรมธิการการแรงงาน
สมาพันธ์แรงงานนอกระบบ ประเทศไทย ยื่นหนังสือข้อเรียกร้องของแรงงานนอกระบบต่อ ประธานคณะกรรมธิการการแรงงาน

วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 มูลนิธิ ฯ ร่วมกับ สมาพันธ์แรงงานนอกระบบ ประเทศไทย ได้เข้ายื่นหนังสือข้อเรียกร้องของแรงงานนอกระบบ ต่อ นายสุเทพ อู่อ้น ประธานคณะกรรมธิการการแรงงาน พร้อมทั้งตัวแทนกลุ่มอาชีพจักรยานยนต์รับจ้าง , หาบเร่แผงลอย , คนเก็บของเก่า , หมอนวด และลูกจ้างทำงานบ้าน มาร่วมยื่นหนังสือในครั้งนี้ด้วย โดยข้อเรียกร้องทั้ง 5 ข้อมีดังนี้ โดยนายสุเทพรับปากกว่าจะรีบดำเนินการ และจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องโครงสร้างอย่างเป็นระบบในวันที่23 พฤศจิกายนนี้ ดูข้อเรียกร้องฉบับเต็มได้ที่นี่

กิจกรรมลงพื้นที่บริจาคอาหาร-ของใช้ช่วยเหลือพี่น้องชาวอยุธยาที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย
กิจกรรมลงพื้นที่บริจาคอาหาร-ของใช้ช่วยเหลือพี่น้องชาวอยุธยาที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

กิจกรรมแรงงานนอกระบบช่วยเหลือพี่น้องที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม จ.อยุธยา จัดโดยสมาพันธ์แรงงานนอกระบบ ประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ โดยได้เปิดรับบริจาค 49 บาท จากพี่ๆน้องๆ แรงงานนอกระบบ และผู้มีจิตศรัทธา ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม ถึง วันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 ได้รับบริจาคทั้งหมด 7,200 บาท ทางสมาพันธ์แรงงานนอกระบบฯ ได้บริจาค 29,636 บาท และมูลนิธิฯได้สมทบบริจาค 30,000 บาท รวมเป็นเงิน 66,846 บาท จากยอดเงินบริจาคได้นำมาจัดทำถุงยังชีพทั้งหมด 250 ถุง ประกอบด้วย และในวันที่ 5 พ.ย. ที่ผ่านมาทางผู้จัดได้นำถุงยังชีพไปบริจาค ณ หมู่ที่ 9 ต.บางบาล อ.บางบาล จ.อยุธยา ทั้งนี้ทางผู้จัดขอขอบคุณผู้บริจาคและผู้ให้ความช่วยเหลือทุกท่านที่ทำให้กิจกรรมครั้งนี้ประสบผลสำเร็จไปได้ด้วยดี

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ

เครือข่ายผู้รับงานไปทำที่บ้าน (Homeworkers) เกิดจากการรวมตัวของผู้รับงานไปทำที่บ้านและองค์กรพัฒนาเอกชนในกรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ปี 2535 ภายใต้โครงการส่งเสริมการคุ้มครองทางสังคม (Social protection) ให้กับผู้รับงานไปทำที่บ้าน

กันยายน 2023
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930  

บทความ

ข่าวสาร I กิจกรรม

จักรยานยนต์รับจ้าง
ความรุนแรง

องค์กรเครือข่ายแรงงานนอกระบบ


HomeNet Thailand Brand

วิสาหกิจเพื่อสังคม ที่มี Homenet Thailand และผู้ทำการผลิตที่บ้าน (Home Based Workers) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานหญิง จาก 25 กลุ่มผู้ผลิตเป็นเจ้าของ ผลิตและจำหน่ายสินค้าที่เป็นงานหัตถกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น อาหารแปรรูป และการรับจ้างผลิตสินค้าแบบ Original Equipment Manufacture (OEM) โดยยึดหลัก Fair Trade, Social Solidarity Economy และ environmental friendly.