เสียงสะท้อนจากอาสาสมัครชุมชน

“ทำไมผู้หญิงต้องทำงานนอกบ้าน ต้องดูแลสามี ดูแลลูก เรารู้สึกว่าทำไมผู้หญิงถึงต้องทำงานอยู่คนเดียว ทำไมคนในบ้านไม่ช่วยเราบ้างเลย เรามองกลุ่ม มองคนข้างตัวเรา สมาชิกที่เป็นผู้หญิง 20 คน ทุกคนมีปัญหาคล้ายๆกัน คือ ในทุกๆวัน ช่วงเวลาประมาณ 17. 00 น. ทุกคนจะต้องรีบกลับไปหากับข้าว ทำอาหารให้ครอบครัวตลอดเลย ”

นางวัชลีย์ เพ็ชบุรี

นางวัชลีย์ เพ็ชบุรี อายุ 57 ปี  เธอเป็นคนจังหวัดสุพรรณบุรี จบการศึกษาระดับมัธยมปลาย จากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)  แต่ย้ายเข้ามาอยู่กรุงเทพมหานคร เมื่อตอนอายุ 18 ปี  เพียงเพราะมาช่วยครอบครัวพี่ชายเลี้ยงลูก แต่ความคิดที่อยากจะมีเงินเป็นของตัวเอง เธอก็เริ่มต้นหางานทำโดยเป็นพนักงานโรงงานบริษัททอผ้า ภายหลังจากที่แต่งงานกับสามีและมีลูกด้วยกัน 2 คน เธอก็เปลี่ยนอาชีพมาค้าขายอาหารตามสั่ง เพราะเธอจะสามารถเลี้ยงลูกได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องไปพึ่งพิงใครให้มาช่วยดูแล ถึงแม้จะเหนื่อยมาก ที่ต้องทำอาหารขาย และก็ต้องเลี้ยงลูกไปด้วย เธอก็เต็มใจเพราะทำให้เธอได้อยู่ใกล้ชิดกับลูก

“เมื่อก่อนตั้งแต่เริ่มตาขึ้นมา ก็หาข้าวหาปลาให้กับสามี ให้กับลูก เลี้ยงลูก ขายอาหารตามสั่ง ทำงานบ้าน ตัวเองกว่าจะได้กินข้าวและดูแลตัวเองก็เกือบเที่ยง และกว่าจะทำเสร็จทุกอย่างก็เกือบ 23.00 น. ทุกวันเลย”

 เธอประกอบอาชีพค้าขายจนสุขภาพแย่ลงเรื่อย ๆ  อีกทั้งยังต้องแบกรับภาระค่าครองชีพในกรุงเทพทำให้เธอและครอบครัวจึงตัดสินใจย้ายที่พักอยู่บ่อยครั้ง จนมาพักแถวลำพะอง  เขตหนองจอก  และด้วยสุขภาพที่แย่ลง และลูกที่โตขึ้น เธอตัดสินใจเข้าเป็นอาสาสมัครทางด้านสาธารณสุข เพราะอยากเข้ามาดูแลและช่วยพัฒนาชาวบ้านในชุมชน ประสบการณ์จากทำงานร่วมกับเพื่อนผู้หญิงในชุมชน เธอสะท้อนให้เห็นว่า การหุงข้าว ทำกับข้าว ทำความสะอาดบ้าน ไม่ควรเป็นเรื่องของผู้หญิงแล้ว แต่เราทุกคนในบ้านควรจะช่วยเหลือกันไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย

ทำไมผู้หญิงต้องทำงานนอกบ้าน ต้องดูแลสามี ดูแลลูก เรารู้สึกว่าทำไมผู้หญิงถึงต้องทำงานอยู่คนเดียว ทำไมคนในบ้านไม่ช่วยเราบ้างเลย เรามองกลุ่ม มองคนข้างตัวเรา สมาชิกที่เป็นผู้หญิง 20 คน ทุกคนมีปัญหาคล้ายๆกัน คือ ในทุกๆวัน ช่วงเวลาประมาณ 17. 00 น. ทุกคนจะต้องรีบกลับไปหากับข้าว ทำอาหารให้ครอบครัวตลอดเลย ”

ตลอดระยะเวลาการทำงานในฐานะผู้นำชุมชน เธอได้เข้าร่วมอบรมมากมาย เพื่อพัฒนาความรู้ของตัวเอง ร่วมไปถึงการนำความรู้ที่ได้รับมาไปช่วยเหลือสมาชิกในชุมชน ถึงแม้ว่าจะได้รับเสียงสะท้อนจากเพื่อนบ้านที่ว่า  “ไปอีกแล้วหรอ ไปทำไม อยู่บ้านไม่ติดเลย ”  แต่เมื่อเราคุยกับครอบครัวแล้ว แล้วเข้าใจเราก็พอแล้ว เพราะทุกครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เราจะได้งานมาเพื่อมาช่วยเหลือชุมชน จะได้เครือข่ายที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือกับชุมชนของเธอได้เช่นกัน  ทั้งนี้หนึ่งในหลักสูตรที่เธอได้เข้าร่วมอบรมคือ หลักสูตรเกี่ยวกับสิทธิสตรีและความเสมอภาคทางเพศ เธอได้สะท้อนให้เห็นว่า ก่อนจะเปลี่ยนแปลงอะไร เราควรเริ่มต้นที่ตัวเองก่อน คุยกับตัวให้เข้าใจ รู้จักความต้องการของตัวก่อน และก็ค่อยๆทำความเข้าใจกับคนใกล้ชิด คนในครอบครัว เพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน ซึ่งเราไม่ได้จะเปลี่ยนไป แต่เราแค่ต้องการเวลาส่วนตัวของเราด้วยเช่นกัน

“เราเริ่มคุยกับตัวเองว่า ถ้าเราจะเป็นอย่างนี้ต่อไป เราจะต้องแย่แน่ๆ  เริ่มหันมาคุยกับครอบครัวว่า อะไรที่ทำกันได้ก็ควรจะต้องทำ ไม่ใช่ปล่อยเอาไว้ให้แม่ หรือเมียทำอย่างเดียว แต่ทุกคนจะต้องช่วยกัน แบ่งงานกันทำในครอบครัว หากใครไม่ว่าง ทุกคนในบ้านก็จะต้องทำหน้าที่นั้นแทนกันได้”

               อย่างไรก็ตามในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้เธอได้เห็นถึงสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงในชุมชนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย หรือจิตใจ เช่น

“สามีติดโควิด แต่ได้ไปกักตัวอยู่ แต่พอหายก็กลับไปอยู่ที่บริษัท โดนไม่กลับมาดูแลคนที่บ้านเลย ทั้งที่คนในครอบครัวมีทั้งผู้สูงอายุ เด็ก และผู้หญิง ภรรยาเกิดความเครียดที่ต้องมาเจอกับสถานการณ์แบบนี้ ไม่รู้จะทำอย่างไร ทั้งยังไม่มีงานทำ และตัวเองก็เพิ่งคลอดลูกมามานาน

“ผู้หญิงให้ในชุมชน นอกจากทำงานในบ้านคนเดียว ทำงานประจำนอกบ้าน แต่หลังเลิกงานทุกวัน ก็จะไปเดินขายขนมปัง เพื่อหารายได้เพิ่มให้กับครอบครัว ทั้งสามีก็เพิ่งออกจากคุกมาหลังจากโดนข้อหาเกี่ยวกับยาเสพติด สังคมก็ไม่ค่อยยอมรับ หางานทำก็ไม่ได้  เธอจึงตัดสินใจมาขอกู้เงินกับชุมชน เพื่อหวังจะเปิดแฟนไชส์ขายไก่ย่าง และทำให้ทุกคนในครอบครัวมีงานทำ”

 จากสถานการณ์นี้เหล่านี้ สิ่งแรกที่เธอได้ทำเพื่อให้ความช่วยเหลือกับเหล่าเพื่อนผู้หญิงในชุมชนของเธอ คือ

  1. การปล่อยให้ผู้หญิงที่มีปัญหาได้ระบายความเครียด ความกังวลที่อยู่ภายในจิต
  2. สอบถามถึงความต้องการที่จะให้ความช่วยเหลือ
  3. แนะนำวิธีการแก้ปัญหา ให้กับผู้หญิงเหล่านั้น รวมถึงการลงมือร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้นให้ผ่านพ้นไปได้

“จิตใจก็สำคัญ แต่ชีวิตก็ต้องเดินต่อ เราค่อยๆแก้ปัญหาไป เป็นผู้หญิงเราไม่ต้องทำคนเดียวให้หมดทุกอย่าง หรอก แค่เรารู้จักแบ่งงาน กล้าพูด  มีเวลาเป็นส่วนตัวบ้าง พักผ่อนบ้าง จะได้มีแรงที่จะทำงานต่อไปได้”

นางวัชลีย์ เพ็ชบุรี

ทุกวันนี้ความรุนแรงทางเพศเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งที่มองเห็นจากการถูกทำร้ายบนร่างกาย ทำพูดที่สร้างบาดแผล ลำทำร้ายจิตใจของเรา ล้วนต่างเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบนสังคมไทย โดยเฉพาะสำหรับมุมมองของคนที่ทำงานเพื่อมุ่งหวังพัฒนาชุมชน อย่างเธอ “คุณวัชลีย์ เพ็ชบุรี”  ที่อยากขอร้องจะให้ทางรัฐบาล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาช่วยให้เกิด พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงของครอบครัว ที่สามารถทำได้จริง สามารถเข้าช่วยเหลือได้ทันท่วงที  มิใช่ทำงานกันเพียงแต่เรื่องการรณรงค์ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองสตรี ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมทั้งด้านร่างการ และจิตใจ ถึงแม้จิตใจจะไม่เห็นบาดแผลเหมือนร่างกาย แต่ก็สร้างผลกระทบให้กับการดำเนินชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งเช่นกัน และฝากคำถามถึงผู้ที่เกี่ยวข้องว่า ในกรณีสามีภรรยาทะเลาะกัน เพื่อนบ้านกลับไม่สามารถช่วยเหลือได้ ตำรวจไม่รับแจ้งความ เพียงเพราะเป็นเรื่องภายในครอบครัว แล้วต้องเกิดเรื่องถึงขนาดไหนที่เราจะสามารถเข้าไปช่วยเหลือเพื่อนบ้านของเราได้?