การวิจัยแรงงานข้ามชาติที่ทำงานบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“งานบ้านเป็นงานที่สำคัญที่สุดงานหนึ่งในสังคมของเรา แต่กลับได้รับการคุ้มครองน้อยที่สุด ซึ่งเราไม่สามารถยอมรับได้อีกต่อไป”

แอนนา เองบลอม

หัวหน้าที่ปรึกษาด้านวิชาการ โครงการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ

การวิจัยเชิงสำรวจโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) พบว่าแรงงานข้ามชาติที่ทำงานบ้านในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย มีสภาพการทำงานที่ย่ำแย่ พร้อมชี้ให้เห็นว่างานบ้านเป็นงานที่จำเป็นต้องใช้ทักษะ

รายงานวิจัยฉบับใหม่ของไอแอลโอพบว่า การปฎิเสธไม่ให้สิทธิแรงงานและการคุ้มครองทางสังคมกับแรงงานข้ามชาตินำไปสู่การแสวงหาประโยชน์และการบังคับใช้แรงงานในตลาดแรงงานที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อค้นพบจากการศึกษานี้ยังชี้ให้เห็นว่า แรงงงานทำงานบ้านจำเป็นต้องใช้ทักษะต่างๆ ในการทำงาน และเสนอให้มีการยอมรับทักษะโดยสะท้อนในรูปการกำหนดค่าจ้าง และชั่วโมงการทำงาน เช่นเดียวกับงานประเภทอื่น ๆ

การสำรวจนี้ได้สัมภาษณ์แรงงานทำงานบ้านจำนวน 1,201 คน ระหว่างเดือน กรกฎาคม – กันยายน พ.ศ. 2565 ในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 29 ของแรงงานข้ามชาติที่ทำงานบ้านซึ่งเป็นผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศมาเลเซียมีสภาพการจ้างงานที่เข้าข่ายคำนิยามเชิงสถิติขององค์การแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยแรงงานบังคับ เช่นเดียวกัน พบว่าแรงงานทำงานบ้านซึ่งเป็นผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศสิงคโปร์ที่เข้าข่ายนิยามนี้มีจำนวนร้อยละ 7  และจำนวนร้อยละ 4 สำหรับประเทศไทย ทั้งนี้ ตัวชี้วัดที่แสดงถึงความไม่สมัครใจในการทำงาน ได้แก่ การที่แรงงานไม่สามารถลาออกจากงานได้ ต้องทำงานเกินกว่าที่ตกลงไว้ และต้องทำงานโดยไม่ได้รับค่าล่วงเวลา และอื่นๆ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ilo.org/asia/media-centre/news/WCMS_885330/lang–en/index.htm