หน้าแรก – มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ (มพอ.)

รับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ
รับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ

“ฝนตกทั้งคืน ตื่นเช้ามาน้ำท่วม….. ไม่เหลืออะไรเลย เราจะไปต่ออย่างไร” เสียงหนึ่งของสมาชิกเครือข่ายแรงงานนอกระบบในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย พวกเขากำลังประสบภัย น้ำท่วมในพื้นที่อย่างหนักมาก จากผลของพายุยางิซึ่งทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรงในภาคเหนือ ระหว่างวันที่ผู้ประสานงานทางภาคเหนือของมูลนิธิฯ ได้แจ้งว่า พี่น้องเครือข่ายแรงงานนอกระบบทางภาคเหนือ โดยเฉพาะ จ.เชียงราย และจ.พะเยา ที่ได้รับผลกระทบมีจำนวน 258 คน จากกลุ่มผู้ทำการผลิตที่บ้าน จำนวน 7 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มส่งเสริมอาชีพชุมชนหนองบัว กลุ่มส่งเสริมอาชีพเกาะลอย กลุ่มส่งเสริมอาชีพบ้านฝั่งหมิ่น กลุ่มผ้าด้นมือชุมชนวัดเมืองชุม กลุ่มทอผ้าตำบลเวียง กลุ่มทอผ้าไทลื้อบ้านทุ่งมอก กลุ่มผลิตไม้กวาด และกลุ่มผู้ค้าถนนคนเดิน จำนวน 325 คน รวมเป็น 583 คน ที่กำลังต้องการความช่วยเหลือเป็นอย่างมาก สถานการณ์หลังน้ำลดขณะนี้ พี่น้องกำลังเผชิญความยากลำบากมากจากน้ำท่วมบ้านเรือนและดินโคลนซึ่งไหลเข้า ที่พักอาศัย พื้นที่ทำมาหากิน ทรัพย์สินเสียหายจำนวนมาก ทุกคนต่างเร่งทำความสะอาดที่อยู่อาศัย และซ่อมแซม อุปกรณ์ของใช้ในชีวิตประจำวัน  โดยที่ ยังมีความกังวล และเฝ้าระวังน้ำหลาก ดินถล่มที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกในอนาคตอันใกล้ ทั้งนี้สมาพันธ์แรงงานนอกระบบ (ประเทศไทย) จึงขอเชิญร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือและช่วยเหลือพี่น้องเครือข่ายแรงงานนอกระบบ โดยเปิดรับเงินบริจาคผ่าน เลขที่บัญชี 0202-36400-469 ชื่อบัญชี […]

“ฉันต้องได้รับการคุ้มครอง”: ประสบการณ์และมุมมองของแรงงานนอกระบบต่อการประกันสังคมในประเทศไทย
“ฉันต้องได้รับการคุ้มครอง”: ประสบการณ์และมุมมองของแรงงานนอกระบบต่อการประกันสังคมในประเทศไทย
การคุ้มครองใหม่ทางกฎหมายของลูกจ้างทำงานบ้านในประเทศไทย : เหตุการณ์สําคัญที่มีการต่อสู้รออยู่ข้างหน้า
การคุ้มครองใหม่ทางกฎหมายของลูกจ้างทำงานบ้านในประเทศไทย : เหตุการณ์สําคัญที่มีการต่อสู้รออยู่ข้างหน้า

หลายปีของการรณรงค์ ประเทศไทยได้มีกฎกระทรวงฉบับใหม่ ซึ่งขยายการคุ้มครองที่สําคัญอยู่หลายประการกับลูกจ้างทํางานบ้านที่เคยถูกกีดกันออกไป อย่างไรก็ตาม การขาดการเข้าถึงการคุ้มครองทางสังคม การไม่ให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO 189 และความเปราะบางของแรงงานข้ามชาติเป็นปัญหาที่ยังคงอยู่สําหรับรัฐบาลไทย และความท้าทายที่เราจะยังคงต้องสู้กันต่อไปอย่างมั่นคงจนกว่างานที่มีคุณค่าจะกลายเป็นความจริงสําหรับลูกจ้างทำงานบ้านทุกคนในประเทศ เมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงแรงงานได้ลงนามกฎกระทรวงฉบับที่ 15 ว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของลูกจ้างทํางานบ้าน ซึ่งรวมถึงแรงงานข้ามชาติด้วย ภายใต้กรอบกฎหมายใหม่นี้ เหล่าลูกจ้างทำงานบ้านจะได้รับค่าแรงขั้นต่ำตามมาตรฐานเดียวกับแรงงานอื่น ๆ และมีชั่วโมงการทํางานที่ปกติ ( ทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวันและพัก 1 ชั่วโมง) วันลาพักผ่อนประจําปี และวันลากิจ นอกจากนี้พวกเขายังจะมีสิทธิลาคลอด 98 วัน ซึ่งจะได้รับค่าจ้าง 45 วันอีกด้วย นายจ้างไม่สามารถบังคับให้คนทำงานที่ตั้งครรภ์ทํางานล่วงเวลาระหว่างเวลา 22.00 น. ถึง 06.00 น. รวมทั้งไม่สามารถเลิกจ้างเนื่องจากการตั้งครรภ์ได้ กฎกระทรวงฉบับที่ 15 ยังกําหนดให้ลูกจ้างทำงานบ้านที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี มีวันลาโดยได้รับค่าจ้าง 30 วัน เพื่อเข้ารับการศึกษาและการฝึกอบรม ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เป็นผลมาจากความพยายามรณรงค์เป็นเวลาหลายปีจากพันธมิตรเครือข่ายลูกจ้างทำงานบ้านสากล เครือข่ายแรงงานบ้านในประเทศไท โดยการประสานงานของ HomeNet และด้วยการสนับสนุนขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 โครงการ ILO TRIANGLE in ASEAN ได้นํากระบวนการทบทวนกรอบกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลูกจ้างทำงานบ้าน เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญา 189 มากขึ้น กระนั้นยังมีหลายประเด็นที่ต้องแก้ไขก่อนที่ลูกจ้างทำงานบ้านจะได้รับสิทธิเช่นเดียวกับคนงานคนอื่นๆ รวมถึงการเข้าถึงประกันสังคมภายใต้พระราชบัญญัติประกันสังคมของประเทศไทย “พวกเรามีความสุขกับกฎกระทรวง ซึ่งเป็นผลมาจากการรณรงค์ของพวกเรา ผู้นําและสมาชิกเครือข่ายลูกจ้างทำงานบ้านในประเทศไทยไปที่กระทรวงแรงงานเพื่อต่อสู้เรื่องสิทธิของลูกจ้างทำงานบ้าน บ่อยครั้งที่นายจ้างมักมีอํานาจเหนือกว่าพวกเรา นายจ้างสามารถทําอะไรก็ได้ทุกอย่างกับพวกเรา แต่ตอนนี้นายจ้างไม่สามารถทําเช่นนั้นได้อีกต่อไป เราจะมีสิทธิตามกฎหมายมากขึ้น ส่วนที่สําคัญที่สุดของกฎกระทรวงฉบับที่ 15 คือ เวลาทำงานต่อวัน 8 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม เป้าหมายทั้งหมดของเรายังไม่บรรลุ พวกเรายังไม่ได้เข้าประกันสังคมมาตรา 33 พวกเรายังไม่ได้ให้สัตยาบัน C189 นี่คือเป้าหมายต่อไปของเรา” กัญญภา ประสพสุข ประธานเครือข่ายลูกจ้างทำงานบ้านในประเทศไทย […]

‘Work From Home’ ฉบับฅนทำการผลิตที่บ้าน
‘Work From Home’ ฉบับฅนทำการผลิตที่บ้าน

ขอเชิญชวนทุกท่านมารู้จัก “การทำงานจากที่บ้าน” หรือ “Work From Home ฉบับฅนทำการผลิตที่บ้าน” ใน “Work From Home เมื่อบ้านกลายเป็นสถานที่ทำงาน” Exhibition ในนิทรรศการนี้ทุกคนจะได้รู้จักอีกหนึ่งอาชีพที่ทำงานจากที่บ้านมาตั้งแต่ก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างอาชีพ “ผู้ทำการผลิตที่บ้าน” ผ่านภาพถ่ายและ Infographic ที่จะนำเสนอเรื่องราว ภาพสะท้อนวิถีชีวิต และปัญหาในการทำงานที่ผู้ทำการผลิตที่บ้านกำลังเผชิญ นิทรรศการการจะมีตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน ถึงวันที่ 27 ตุลาคม 2567ที่ Gallery 2, BACC pop•upชั้น 2 แมด, มันมัน ศรีนครินทร์Seacon Square l ซีคอนสแควร์

งานที่มีคุณค่าในเศรษฐกิจการดูแลในประเทศไทย
งานที่มีคุณค่าในเศรษฐกิจการดูแลในประเทศไทย

รายงานสรุปการประชุมปรึกษาหารือ: งานที่มีคุณค่าในเศรษฐกิจการดูแลในประเทศไทย

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ

เครือข่ายผู้รับงานไปทำที่บ้าน (Homeworkers) เกิดจากการรวมตัวของผู้รับงานไปทำที่บ้านและองค์กรพัฒนาเอกชนในกรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ปี 2535 ภายใต้โครงการส่งเสริมการคุ้มครองทางสังคม (Social protection) ให้กับผู้รับงานไปทำที่บ้าน

ตุลาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031  

บทความ

ข่าวสาร I กิจกรรม

จักรยานยนต์รับจ้าง
ความรุนแรง

องค์กรเครือข่ายแรงงานนอกระบบ


HomeNet Thailand Brand

วิสาหกิจเพื่อสังคม ที่มี Homenet Thailand และผู้ทำการผลิตที่บ้าน (Home Based Workers) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานหญิง จาก 25 กลุ่มผู้ผลิตเป็นเจ้าของ ผลิตและจำหน่ายสินค้าที่เป็นงานหัตถกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น อาหารแปรรูป และการรับจ้างผลิตสินค้าแบบ Original Equipment Manufacture (OEM) โดยยึดหลัก Fair Trade, Social Solidarity Economy และ environmental friendly.